วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Easy GIF Animator 4(banner)

รูปที่ 1 แสดงหน้าตาของโปรแกรม

เกี่ยวกับโปรแกรม Easy GIF animator เป็นโปรแกรม สำหรับ สร้างและแก้ไขภาพเคลื่อนไหว (Animation) ให้กับ ไฟล์รูปภาพตระกูล GIF ด้วยรูปแบบของโปรแกรมที่ออกแบบมา ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างผลงานได้อย่างง่ายๆ ใส่ลูกเล่น จัดเรียงลำดับภาพ ภาพ (Frame) ก่อนหลัง ฯลฯ อีกมากมาย ทั้งนี้ก็ยังมีการปรับให้เหมาะกับเว็บเพจโดยเฉพาะได้อีกด้วยทำให้งานที่ได้ออกมามีคุณภาพ
จุดเด่นและความสามารถของโปรแกรม
1. สามารถสร้างภาพแอนิเมชันแบบการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ของไฟล์ภาพในตระกูล GIF และทำการบันทึกเป็นภาพเพียงภาพเดียว
2. สามารถสร้าง Banners สำหรับเว็บไซต์ได้อย่างสวยงาม
3. สามารถสร้าง Button ที่มีการเคลื่อนไหวได้
4. สามารถ Export ไปเป็นไฟล์ได้ถึง 3 นามสกุล ทั้ง AVI, SWF และ GIF รวมทั้งยัง
สามารถส่งเมล์ภาพแอนิเมชันที่สร้างขึ้นได้ในโปรแกรมเอง
ขั้นตอนในการสร้าง Banner
1.เข้าสู่โปรแกรม ในหน้าต่างแรกให้เลือก Create Animated Banner

รูปที่ 2 แสดงหน้าต่างแรกของโปรแกรมเพื่อเลือกการสร้าง Banner
หรือว่าจะเลือกเมนูคำสั่ง File แล้วเลือก New Banner Wizard.. ก็ได้ ดังรูป

รูปที่ 3 แสดงการเปิดการสร้าง Banner

1. กำหนดขนาดของ Banner โดยโปรแกรมจะมีขนาดให้เลือก 3 รูปแบบ
- Select standard size คือ โปรแกรมจะกำหนดขนาดความกว้างและความยาวของ Banner มาให้เลือก
- Specify custom size คือ สามารถกำหนดขนาดความกว้างและความยาว ของ Banner ได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
- Get size from background image คือ สามารถกำหนดขนาดของ Banner ได้ตามขนาดของรูปภาพ
ในส่วนของการกำหนดขนาดจะยกตัวอย่างจะกำหนดขนาดเป็น Specify custom size เมื่อกำหนดขนาดได้ตามต้องการแล้ว คลิก Next
รูปที่ 4 แสดงการกำหนดขนาดของ Banner

2. การใส่สีหรือภาพพื้นหลัง โปรแกรมจะมีตัวเลือก 3 รูปแบบ
- Simple color คือ การกำหนดสีพื้นหลังเป็นสีเดียว


รูปที่ 5 แสดงการกำหนดสีพื้นหลังเป็นสีเดียว
- Gradient color คือการกำหนดสีพื้นหลังเป็นสองสีสามารถเลือกสีและรูปแบบการแสดงผลได้ตามต้องการ จะเหมือนกับโปรแกรม MS-Word

รูปที่ 6 แสดงการกำหนดสีพื้นหลังเป็นสองสี

- Picture or texture คือการนำภาพมาใส่ ทำเป็นภาพพื้นหลัง
เมื่อเลือก Picture or texture แล้วคลิกที่ Browse จะมีหน้าต่าง Openขึ้นมาให้เลือกรูปภาพที่ต้องการนำมาเป็นภาพพื้นหลัง เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Open
รูปที่ 7 การนำภาพมาใส่ ทำเป็นภาพพื้นหลัง
รูปที่ 8 ภาพที่นำมาใส่ จะปรากฏเป็นตัวอย่าง

ในที่นี้จะยกตัวอย่างเป็นการนำภาพมาทำเป็นภาพพื้นหลังจากนั้นก็เลือกNext 4. การใส่ข้อความ สามารถใส่ได้ 3 ข้อความ
โดยสามารถใส่ข้อความในแถบ text 1, text 2, text 3 และสามารถกำหนดรูปแบบ ขนาด สีของข้อความได้ในแต่ละข้อความ นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดการแสดงของข้อความได้
โดย How to show? เป็นการกำหนดรูปแบบการแสดงของข้อความเข้ามา
How long to show? เป็นการกำหนดเวลาที่แสดง โดยมีหน่วยเป็น Second
How to hide? เป็นการกำหนดรูปแบบของข้อความออกไปหลังจากแสดงเสร็จ

รูปที่ 9 แสดงการใส่ข้อความบน Banner

โดยเมื่อต้องการใช้ให้คลิกที่ปุ่มสามเหลี่ยมข้างหลัง ก็จะมี รายการให้เลือก เมื่อเลือกเสร็จแล้ว ให้คลิก Next
5. จากนั้นโปรแกรมก็จะมีหน้าต่าง Finish ขึ้นเพื่อต้องการให้เราบันทึก Banner หากต้องการบันทึก ให้คลิก Save Banner to file..


รูปที่ 10 แสดงการสร้างงานที่เสร็จสิ้นและการบันทึกงาน

แต่หาก คลิก Finish ก็จะปิดหน้าต่างนี้ แล้วจะสามารถแก้ไขได้ในหน้าต่างหลักในส่วนของ Edit
6. กำหนด Effect ให้กับเฟรมภาพโดยคลิก Create Image Effect (ดูข้อ 7)
Create Image Effect

รูปที่ 11 แสดงปุ่มเครื่องมือการสร้าง Effect ของรูปภาพ

7 . กำหนด Effect ให้กับเฟรมภาพโดยคลิก Create Image Effect แล้วกำหนดค่าต่าง ๆ ดังในหน้าต่างนี้ โดย
- Select the Effect คือ การเลือกรูปแบบ Effect
- Effect Option ประกอบด้วย
- Effect Speed คือ การกำหนดความเร็วของการเคลื่อนที่ - Effect Smoothness/Length คือ ความสมดุลกันของการเคลื่อนไหวกับความยาวของการเล่น - Direction คือ การเลือกทิศทางการเคลื่อนไหวไป และการเลือกรูปแบบการเคลื่อนไหวจาก - Slide the old frame คือ การเคลื่อนไหวจากเฟรมเดิม - Slide the new frame คือการเคลื่อนไหวโดยเริ่มเป็นเฟรมใหม่



รูปที่ 12 แสดงการกำหนดค่าให้กับ Effect ของ Frame ภาพ

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ธุรกิจกับสื่อมัลติมีเดีย

ธุรกิจการพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์ (print media) หมายถึง สื่อที่ผลิตขึ้นจากระบวนการทางการพิมพ์ทุกรูปแบบที่บรรจุเนื้อหาสาระทั้งทางด้านความรู้ ความบันเทิง โดยจัดพิมพ์ลงบนกระดาษหรือวัสดุอื่นๆเช่น ผืนผ้าหรือแผ่นพลาสติก เป็นต้น

สื่อสิ่งพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.หนังสือพิมพ์ (newspapers)
2.นิตยสารและวารสาร (magazine and journals)
3.หนังสือเล่ม (books)
4.สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจต่างๆ (special purpose printed materials)

หลักการเขียนในสื่อสิ่งพิมพ์
หลักการเขียนโดยทั่วไปอาจใช้หลักการสำคัญคือ
1.เขียนให้ง่าย ชัดเจนและสรุปใจความสำคัญ
2.รู้ลักษณะของผู้อ่าน พยายามคิดถึงภาพของผู้อ่านก่อนที่จะเขียน
3.เขียนอย่างมีการวางแผนโดยกำหนดร่างหัวข้อ (outline) และเขียนตามที่ได้ร่างไว้
4.เขียนเป็นแบบร่างก่อน (draft)โดยพยายามบรรจุความคิดและข้อมูลลงไปก่อนแล้วจึงมาปรับปรุงแก้ไขตกแต่งภายหลัง
5.เลือกใช้คำที่เหมาะสมอย่างระมัดระวัง ใช้คำง่ายๆ คำที่คุ้นเคยกัน และคำที่มีลักษณะเฉพาะตัว
6.ใช้การกำหนดแบบและขนาดตัวอักษร ตัวหนา และช่องว่างเพื่อเน้นคำและข้อความที่สำคัญ
7.ควรใช้ภาพประกอบคำอธิบายเพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาให้เข้าใจง่ายขึ้น และดึงดูดความสนใจของผู้อ่านด้วย


ธุรกิจการพิมพ์ นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย อันจะส่งผลให้หนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ มีความน่าสนใจมากขึ้น และปัจจุบันก็มี E-Magazine หรือ E-Book ออกมาอย่างแพร่หลาย
e-Magazine หรือ Magazine Online ท่านจะแปลว่า วารสารหรือนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ ก็ถูกทั้งนั้น โดยจะออกรายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือรายเดือน ก็แล้วแต่ผู้จัดทำ โดยปกติทุกท่านก็รู้จักวารสาร นิตยสารที่วางขายตามแผงหนังสือทั่วไปอยู่แล้ว ราคาจำหน่ายก็แล้วแต่ความหนาของหนังสือ พิมพ์สีเดียวหรือ 4 สี กระดาษอย่างดีหนาบาง ราคาก็จะแตกต่างกันไป ต้นทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่โรงพิมพ์มากกว่า แต่วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Magazin) คนกลางคือโรงพิมพ์จะหายไป ต้นทุนที่เป็นกระดาษจะไม่มี จำนวนหน้าก็ไม่ต้องจำกัด แล้วแต่จะมีผู้ส่งบทความมากน้อยแค่ไหน วิธีการเข้ามาอ่านวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ก็ไม่มีข้อจำกัด คือ ใครก็สามารถเข้ามาอ่านได้ (anyone) อ่านจากที่ไหนก็ได้จากทุก ๆ แห่งทั่วโลกที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (anywhere) สามารถอ่านเวลาไหนก็ได้ (anytime) หรือเลือกอ่านในสิ่งที่สนใจก็ได้ (anything) และหากเมื่อไรต้องการเอกสารเป็นรูปเล่ม เพื่อเก็บไว้ในตู้หนังสือหรือส่งให้เพื่อนฝูง คนรู้จัก ก็สั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ (Printer) ได้ทันที
E-book ได้มีผู้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไว้หลายความหมาย ได้แก่
เป็นคำเฉพาะที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดย เฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูลเสียง (Optical disc) เช่น ซีดีรอม และซีดีไอ และเป็น ซอฟต์แวร์ (ในรูปของดิสก์ขนาด 8 ซม.)
เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายตัวอักษรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหนังสือ อยู่ในรูปแบบดิจิตัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ เป็นหนังสือถูกนำมาจัดพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอล ไม่บังคับการพิมพ์ และการเข้าเล่ม แผ่นซีดีรอมสามารถจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษร ทั้งลักษณะภาพ ดิจิตอล ภาพอนิเมชั่น วิดีโอ ภาพเลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่นๆ ที่ประกอบตัว อักษรเหล่านั้น มูลค่าของการจำลองลงบนแผ่นจานข้อมูลเสียง (Optical disc) เพียงแค่เป็นเศษส่วน ของการจัดพิมพ์และการห่อหนังสือในขณะที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีฮาร์ดแวร์ในการอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ และขณะนี้มีราคาหลายระดับ ลักษณะของซอฟต์แวร์ที่เพิ่มเป็นแบบไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) สามารถแสดงผลของการค้นหาตัวอักษรได้ เชื่อมต่อกับไฮเปอร์เท็กซ์ มีคำแนะนำที่ สามารถอธิบายศัพท์เป็นระบบออนไลน์ และอาจมีหมายเหตุตรงขอบ เป็นต้น
ลักษณะและรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หัวใจของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ "แผ่นจานข้อมูลแสง" หรือ ซีดีรอม แผ่นดิสก์ดังกล่าวจะเก็บ ข้อมูลในรูปแบบเดียวกับแผ่นซีดีที่ใช้บันทึกเพลง คือแต่ละจุดที่บันทึกอยู่บนแผ่นดิสก์จะใช้แทนจำนวน ข้อมูล และจุดเหล่านี้สามารถอ่านค่าด้วยแสงเลเซอร์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดพกพาติดตัวได้เปิด โฉมเมื่อไม่นานนี้ด้วยสนนราคา 300 ปอนด์ ประกอบด้วยตัวเครื่องขนาดกระทัดรัดเหมาะมือ มีคีย์บอร์ด ขนาดเล็กเท่าหน้าปัดนาฬิกา จอมีขนาด 6 ตารางเซ็นติเมตร และมีช่องสำหรับใส่แผ่นดิสก์ 1 ช่อง ความสามารถที่เป็นจุดเด่นของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือความสามารถในการใช้งานข้อมูลที่บรรจุอยู่ใน แผ่นดิสก์แบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ คือสามารถใช้งานในรูปของตัวอักษรและกราฟิก หรือที่เรียกว่าแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ แต่ก็มีจุดอ่อนในตัวเองเหมือนกัน เมื่อมีข้อมูลมากจึงทำให้มีขนาดใหญ่และหนักกว่า หนังสือที่เป็นกระดาษ และเปลืองไฟมาก ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และ ใช้พลังงานน้อย จอมีขนาดเล็กกว่าจอโทรทัศน์ทั่วไปจึงทำให้เกิดอาการเคืองตาและเหนื่อยเป็นอย่างมาก หากต้องอ่านนาน ๆ